เกี่ยวกับหลักสูตร
1. ข้อมูลทั่วไป
1.1 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต
1.2 โครงสร้างหลักสูตร
(1) แผน 1 การเรียนแบบทำเฉพาะวิทยานิพนธ์
แผน 1.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาปริญญาโท ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว จำนวนหน่วยกิต ตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต
(2) แผน 2 การเรียนรายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
แผน 2.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาปริญญาโท ทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
รายละเอียดในแต่ละแผนการศึกษา มีดังนี้
โครงสร้างหลักสูตร |
แผน 1 |
แผน 2 |
แผน 1.1 |
แผน 2.1 |
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน |
- |
ไม่นับหน่วยกิต |
(1) หมวดวิชาบังคับ |
- |
15 |
(2) หมวดวิชาเลือก |
- |
9 |
วิทยานิพนธ์ |
ไม่น้อยกว่า 60 |
ไม่น้อยกว่า 36 |
รวม |
ไม่น้อยกว่า 60 |
ไม่น้อยกว่า 60 |
รายละเอียดหลักสูตร.pdf
แผนการศึกษา (ปีการศึกษา 2567) .pdf
2. ปรัชญา
มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพนำความรู้ไปใช้เพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการประยุกต์หลักทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง การเป็นผู้ประกอบธุรกิจสามารถวางแผนการจัดการ การวิเคราะห์ และมีความรู้ในประเด็นเกี่ยวกับงานบริหารธุรกิจอย่างมีมีจริยธรรม คุณธรรม รวมถึงการพัฒนาทรัพยากรบุคลากรเพื่อให้ทันกับความต้องการของสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ข้อค้นพบจากงานวิจัยจะเป็นฐานข้อมูลสำคัญในด้านธุรกิจของประเทศชาติต่อไป
3. วัตถุประสงค์
1) ผลิตบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีจริยธรรมทางธุรกิจ และมีความเป็นผู้นำ ที่สามารถบูรณาการองค์ความรู้ในด้านบริหารธุรกิจไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือแสวงหาโอกาสทางธุกิจได้
2) สามารถผลิตผลงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมทางธุรกิจ ให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ สามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้งานได้จริงและสอดคล้องความต้องการของสังคมโดยรวม
3) พัฒนาดุษฎีบัณฑิตให้เป็นผู้นำที่มีความรู้ความสามารถสูงสุดในการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการบริหารงานขององค์กรในระดับชาติและก้าวไปสู่ระดับนานาชาติ
4. ระบบการจัดการศึกษา
จัดการศึกษาระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา ได้แก่ ภาคการศึกษาที่หนึ่ง และภาคการศึกษาที่สอง มีระยะเวลาการศึกษาในแต่ละภาคไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ หรือเทียบเคียงได้ไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ต่อภาคการศึกษา ส่วนข้อกำหนดต่างๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยศรีปทุมว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
ทั้งนี้ ได้จัดให้มีการเรียนการสอนภาคฤดูร้อนด้วยโดยมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อหน่วยกิต และ/หรือ 8 สัปดาห์ต่อภาคการศึกษา ทั้งนี้ ระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิตมีสัดส่วนเทียบเคียงกันได้กับการศึกษาภาคปกติ ส่วนข้อกำหนดต่างๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยศรีปทุมว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
5. การรับรองหลักสูตร
- สกอ. รับทราบการให้ความเห็นชอบ/อนุมัติหลักสูตรของสภาสถาบันอุดมศึกษา
- สำนักงาน ก.พ. รับรองคุณวุฒิของผู้สำเร็จการศึกษา
6. การดำเนินการหลักสูตร
จัดการเรียนการสอนทั้งในและนอกเวลาราชการ
ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนสิงหาคม - เดือนธันวาคม
ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนมกราคม - เดือนพฤษภาคม
ภาคฤดูร้อน เดือนมิถุนายน - เดือนกรกฎาคม
7. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาทั้งภายใน ประเทศหรือต่างประเทศที่ได้รับการรับรองวิทยฐานแล้ว และมีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
2) มีคุณสมบัติอื่น ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยศรีปทุมว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หรือ คุณสมบัติอื่นตามที่กำหนดไว้ในแต่ละหลักสูตร
8. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
ในการคัดเลือกผู้เข้าศึกษานั้น ต้องเป็นไปตามวิธีการดังนี้
- การคัดเลือกของมหาวิทยาลัย
- การคัดเลือกเข้าตามโครงการพิเศษ
9. รูปแบบการศึกษา
แบบชั้นเรียน ทั้งนี้ ในบางรายวิชาอาจมีการเรียนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) เพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม
10. การเทียบโอนหน่วยกิตและการลงทะเบียนเรียนข้ามมหาวิทยาลัย
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
11. สถานที่จัดการเรียนการสอน
จัดการเรียนการสอนที่ มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน วิทยาเขตชลบุรี และวิทยาเขตขอนแก่น
12. ระยะเวลาในการศึกษา
- เวลาในการศึกษา 3 ปี (9 ภาคการศึกษา)
- เรียนวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00 - 17.30 น.
13. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มีความรู้เกี่ยวกับการทำวิจัย เป็นผู้นำผู้ประกอบการ และสามารถปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น บริษัทข้ามชาติ องค์กรระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ ในตำแหน่งต่างๆ เช่น
- ผู้บริหารระดับสูงหรือพนักงานผู้เชี่ยวชาญทางด้านบริหารธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชน
- เจ้าของกิจการ ผู้บริหารระดับสูงในองค์การระหว่างประเทศ องค์การอิสระ
- ข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับผู้เชี่ยวชาญขึ้นไป
- อาจารย์ในมหาวิทยาลัย
- นักวิจัย นักวิชาการ นักวิชาชีพ ที่ปรึกษา ผู้ประกอบอาชีพอิสระหรือผู้ประกอบการที่คิดค้นและใช้นวัตกรรมทางด้านบริหารธุรกิจ ฯลฯ